ทำไมต้องมีการปฐมพยาบาล และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเป็นก็ดูแลผู้ป่วยก่อนที่จะถึงมือแพทย์ ได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัยที่สุด
วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
การคลำชีพจร
การคลำชีพจร
ชีพจร คือ จังหวะการเต้นของหัวใจ สามารถคลำพบได้พบและสะดวกมากที่สุด คือที่ ข้อมือ หรือ ตำแหน่งอื่นๆ ที่สามารถคลำได้ เช่น ข้อศอกด้านใน ที่คอ ที่ขมับ เป็นต้น
ชีพจรเป็นสิ่งที่บอกถึงลักษณะการทำงานของหัวใจ สภาพของหลอดเลือด และสภาพการไหลเวียนเลือดของร่างกาย การตรวจนับชีพจร เพื่อดูว่าหัวใจเต้นหรือไม่
สิ่งที่ต้องสังเกตในขณะจับชีพจร คือ
อัตราเร็วของชีพจร หมายถึง อัตราการเต้นของหัวใจ โดยปกติ ชีพจรปกติในผู้ใหญ่ 70-80 ครั้ง/นาที เด็ก 90-130 ครั้ง/นาที ผู้สูงอายุชีพจรจะลดลงเหลือประมาณ 60-70 ครั้ง/นาที
จังหวะ หมายถึง จังหวะการเต้นของชีพจร ตามปกติต้องสม่ำเสมอกัน
ความแรงของชีพจร หมายถึง จำนวนของเลือดในกระแสเลือด ถ้าในกระแสเลือดมีเลือดมากตามปกติ ชีพจรจะเต้นแรง แต่ถ้าจำนวนเลือดลดน้อยลง เช่น ถ้ามีการเสียเลือดมาก ชีพจรจะเบา เร็ว
วิธีการจับชีพจร
ให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่าที่สบาย นั่งหรือนอนก็ได้
ให้ผู้บาดเจ็บเหยียดแขน ข้อมือเหยียดตรง
ผู้ปฐมพยาบาลวางนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางวางที่เส้นเลือดที่ข้อมือด้านหัวแม่มือ และกดลงเบาๆ
ในผู้บาดเจ็บที่อาการหนักจะต้องจับชีพจรทุก 15-30 นาที
ลักษณะการเต้นของชีพจรว่าสม่ำเสมอหรือไม่ ความแรงเท่ากันหรือไม่ ถ้าพบผู้บาดเจ็บที่มีชีพจรผิดไปกว่าปกติ รีบส่งแพทย์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น