วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การได้รับสารพิษ


การได้รับสารพิษ
หมายถึง สารพิษเข้าสู่ร่างกายโดย
การรับประทาน
สูดหายใจ
สัมผัสทางผิวหนัง หรือ
ฉีดผ่านผิวหนังเข้าไปในร่างกาย
     ทำให้เกิดอันตราย พิการ ถึงแก่ชีวิต ทั้งนี้อาจเกิดจากความจงใจ เช่น ฆ่าตัวตาย หรือจากอุบัติเหตุ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ได้

สารพิษที่ควรทราบคือ
สารพิษที่เกี่ยวกับการเกษตร เช่น ยากำจัดศัตรูพืช ยาบำรุงพืช ปุ๋ย หรือยากระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
สารพิษที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม เช่น แอลกอฮอล์ กรด และ ด่าง โลหะและก๊าซ เป็นต้น
สารพิษที่เกี่ยวข้องกับการปรุงอาหารโดยใช้ผิดประเภท เช่น สีผสมอาหาร น้ำมัน และรวมถึงของใช้ในบ้าน เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำ

สารพิษเกิดจากการใช้ยา เช่น ยานอนหลับ ยากระตุ้นประสาท ยาพิษ เป็นต้น
สารพิษจากพืชและสัตว์ เช่น พิษจากมันสำปะหลังดิบ (ไซยาไนด์) พิษจากเห็ด หรือสารพิษจากแมลงกัดต่อย งูกัด สุนัขบ้ากัด เป็นต้น

สารพิษเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน
มี 4 ประเภท
1.  สารกัดกร่อน คือ สารที่ทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายโดยเร็ว คือ กรด ด่าง เป็นต้น ทำให้เกิดแผลไฟไหม้บริเวณปาก ลิ้น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร มีอาการเจ็บปวดรุนแรง อาเจียนออกมาเป็นเลือดสีดำ
2.  สารระคายเคือง เป็นสารที่ไม่ได้ทำลายเนื้อเยื่อโดยตรง แต่ทำให้อักเสบ เกิดคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง เป็นลมหน้ามืด ได้แก่ พวกไนเตรต (ดินประสิว) สารหนู กำมะถัน เป็นต้น

สารกดประสาท เมื่อรับประทานเข้าไปแรกๆ ผู้ป่วยจะตื่นเต้นชั่วคราว ต่อมาจะเชื่องซึม หายใจช้า มีเสียงกรน ผิวหนังเย็นชื้น หน้าและมือเขียวคล้ำ กล้ามเนื้อปวกเปียก ได้แก่ พวกฝิ่น มอร์ฟีน ยานอนหลับ แอลกอฮอล์ เป็นต้น
สารพวกกระตุ้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยกระวนกระวาย เพ้อ หายใจลำบาก ผิวหนังแห้ง ร้อน ชีพจรเต้นเร็ว กล้ามเนื้อหดเกร็ง และชักได้ ได้แก่ สารพวกกระตุ้นประสาท สารสตริกนิน (ยาเบื่อสุนัข) อะโทรปีน (atropine) เป็นต้น
Atropine

พบในพืช ชื่อว่า ลำโพงขาว
(ส่วนของใบ ดอก และผล)

รีบนำส่งโรงพยาบาล
หาชนิดของสารพิษที่ผู้ป่วยรับประทานเข้าไป เก็บตัวอย่างให้แพทย์ตรวจ
พยายามเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหารให้มาก โดยทำให้อาเจียน (ยกเว้นผู้ป่วยที่รับประทานสารกัดกร่อน เช่น กรด ด่าง หรือ น้ำมันระเหย ห้ามทำให้อาเจียนโดยเด็ดขาด)
ปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว

Ramathibodi Poison Center ศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี
http://www.ra2.mahidol.ac.th/poisoncenter/
Tel: (02) 354-7272, (02) 201-1083 , Fax: (02) 201-1084, Hotline: 1367 Email: poisfeedback@hotmail.com

สิ่งที่ควรทราบเมื่อพบผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ
สารที่ผู้ป่วยได้รับเข้าไปคืออะไร
ได้รับเมื่อไร ปริมาณเท่าไร
อาการที่ผู้ป่วยเป็น
ให้เก็บขวดสารพิษ ฉลาก เท่าที่หาได้นำไปพบแพทย์ด้วย
ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลช้าเกินไป อาจไม่สามารถแก้ไขได้

รีบนำส่งโรงพยาบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น