ขั้นตอนเข้าช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ (Step for Aider)เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับผู้ป่วย
เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดกับผู้ช่วยเหลือ
มี 3 ขั้นตอน
1. มีสติ
สิ่งสำคัญอันดับแรกที่นักปฐมพยาบาลจะต้องมี
ผู้เข้าช่วยเหลือต้องมีสติ
รับรู้ว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น
สถานการณ์ ณ ปัจจุบันเป็นอย่างไร
ตัวผู้เข้าช่วยสามารถเข้าช่วยหรือควบคุมสถานการณ์ได้เองหรือไม่
จำเป็นต้องขอความช่วยจากใครหรือไม่
การตัดสินใจเหล่านี้สำคัญมากทั้งตัวผู้เข้าช่วย และผู้บาดเจ็บ
2. ประเมินสถานการณ์
2.1 ประเมินสถานการณ์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับตัวผู้เข้าช่วย
2.2 ประเมินสถานการณ์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับตัวผู้บาดเจ็บเพิ่มเติม
2.3 ประเมินสถานการณ์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับบุคคลรอบข้าง
หากประเมินแล้วพบว่าอันตรายยังคงมีอยู่ไม่ว่าจะเกิดกับตัวผู้เข้าช่วย / ผู้บาดเจ็บ /บุคคลรอบข้าง ต้องระงับหรือขจัดอันตรายเหล่านั้นออก
ไปก่อน
3. ประเมินผู้บาดเจ็บ
ไม่ใช่ขั้นตอนที่หนึ่ง
การประเมินผู้บาดเจ็บจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
3.1 การประเมินผู้บาดเจ็บระยะเร่งด่วน
ประเมินสภาวะการมีชีวิตของผู้ป่วย โดยประเมิน 3 ระบบ คือ
ระบบประสาท
ระบบหายใจ
ระบบไหลเวียนโลหิต
ภาวะฉุกเฉินที่ต้องการปฐมพยาบาลมี 2 ประเภท คือ
1. ภาวะที่คุกคามชีวิต คือ ถ้าปฐมพยาบาลถูกต้องจะช่วยให้ชีวิตรอด ถ้าผิดจะพิการ หรือตาย
เลือดออก หรือ ตกเลือด
ช็อก และเป็นลมหมดสติ
หยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้น
การได้รับสารพิษเข้าไป
2. ภาวะที่ไม่รุนแรงถึงตาย แต่ผู้ปฐมพยาบาลช่วยให้ผ่อนคลายความเจ็บปวด และป้องกันมิให้เกิดบาดแผลลุกลามหรือบาดเจ็บยิ่งขึ้น เช่น บาดแผลจากของมีคม ถลอก หรือ ไฟไหม้ กระดูกหัก หรือ ข้อเคลื่อน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น